|
|
หน้าหลัก |
สาเหตุการทรุดตัวของอาคาร 1. เสาเข็มสั้นเกินไป อยู่ในชั้นดินอ่อนซึ่งรับแรงแบกทานได้น้อย ดินโดยรอบเสาเข็มอยู่ในสภาพที่ยุบตัวหรือเคลื่อนตัวได้ง่ายเมื่อมีแรงมากระทำ ดังนั้นเมื่อมีสน้ำหนักส่งผ่านจากเสาเข็มลงสู่ดินหรือระดับของน้ำใต้ดินลดต่ำลง ดินจะยุบตัวมากและเป็นผลให้เสาเข็มทรุดตัวตามไปด้วย 2. เสาเข็มบกพร่อง เสาเข็มแตกหักหรือขาดจากกันเป็นาเหตุหนึ่งที่ทำให้อาคารมีปัญหาเรื่องการทรุดตัว ส่วนมากเสาเข็มจะแตกหักหรือเกิดความชำรุดบกพร่องใหนขณะที่ติดตั้งลงดิน เมื่อเสาเข็มชำรุดจะไม่สามารถส่งผ่านน้ำหนักลงไปยังดินแข็งที่อยู่ลึกลงไปได้ กรณีที่เป็นเสาเข็มคอนกรีตชนิดตอกมักพบปัญหาแตกร้าวหรือหักจากากรที่พยายามตอกเสาเข็มให้ผ่านชั้นดินที่มีค่า SPT (Standard Penetration Test ) มากกว่า 30 ครั้ง/ฟุต ( Blows/foot ) และดินชั้นนี้มีความหนามากกว่า 5-6 เท่าของเส้นผ่านศูนย์กลางเสาเข็ม
3. ฐานรากเยื้องศูนย์ ศูนย์กลางของเสาเข็มหรือของกลุ่มเสาเข็มไม่ตรงกับตำแหน่งเสาของอาคาร กรณีเช่นนี้จะพบเห็นมากกับอาคารที่ใช้เสาเข็มเดี่ยว เมื่อเสาของอาคารไม่ตรงกับเสาเข็มจะทำให้ฐานรากพลิกตัว หากสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นกับฐานรากส่วนใหญ่ในอาคารทั้งหลังจะทรุดเอียง และการทรุดเอียงลักษณะเช่นนี้มักจะไม่ค่อยพบเห็นรอยแตกร้าวที่โครงสร้างส่วนบน แต่จะไปพบรอยแตกร้าวที่ฐานรากหรือเสาตอม่อด้านที่ถูกดึงขึ้นปรากฎเป็นรอยแตกร้าวแนวนอน
3. ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกัน โดยทั่วไปที่มีการกำหนดให้เสาเข็มในอาคารยาวเท่ากันทั้งหมดนั้นยังไม่ถูกต้องนัก เพราะการกำหนดเช่นนั้นหากระดับของชั้นดินไม่ได้อยู่ในแนวราบจะทำให้ปลายเสาเข็มอยู่บนดินต่างชนิดกันได้ ปลายเสาเข็มบางส่วนของอาคารอาจอยู่ในดินเหนียวแข็งหรือชั้นทรายแน่น แต่ปลายเสาเข็มอีกส่วนหนึ่งอาจอยู่ในดินอ่อน ทำให้ฐานรากของอาคารทรุดตัวแตกต่างกันได้ 4. เกิดการเคลื่อนตัวของดิน การเคลื่อนตัวของดินมักจะเกิดจากผลกระทบจากภายนอก เช่น มีการขุดดินบริเวณข้างเคียงทำให้ดินเคลื่อนตัวดันเสาเข็มของอาคารให้เคลื่อนจากตำแหน่งเดิม เป็นสาเหตุการทรุดตัวที่มักจะเกิดขึ้นภายหลังจากสร้างอาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว
5. เสาเข็มรับน้ำหนักไม่ได้ตามความต้องการ หากไม่มีการเจาะสำรวจสภาพชั้นดินแต่อาศัยข้อมูลจากการบอกเล่าว่าเคยตอกเสาเข็มยาวเท่านั้นเท่านี้เก็เพียงพอแล้ว หรือเชื่อมั่นข้อมูลจากอาคารข้างเคียงมากเกินไป อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ เช่น ไม่ทราบมาก่อนว่าดินใหม่ยั้งอยู่ในสภาพไม่แน่นตัว นอกจากจะไม่ช่วยรับน้ำหนักแล้วยังเป็นน้ำหนักบรรทุกกดลงบนเสาเข็ม ( Negative Skin Friction ) ด้วยเสาเข็มจึงรับน้ำหนักไม่ได้ตามที่คาดหมายไว้ดังนั้นถึงแม้จะใช้เสาเข็มชนิดเดียวกันและมีความยาวเท่ากับเสาเข็มของอาคารข้างเคียง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรับน้ำหนักได้เท่ากับเสาเข็มของอาคารข้างเคียงเสมอไป ชนิดของรอยร้าว 1.รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ 2.รายร้าวที่เกิดจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง 3.รอยร้าวที่เกิดจากการทรุดตัวของฐานราก ลักษณะของรอยร้าว 1.รอยร้าวเนื่องจากวัสดุเสื่อมสภาพ 1.1 แตกร้าวเฉพาะที่ผิวคอนกรีต 1.2 แตกร้าวลึกจนถึงเหล็กเสริม 2. ร้อยร้าวเนื่องจากโครงสร้างรับน้ำหนักบรรทุกเกินกำลัง 2.1 คาน - ช่วงกลางคาน - ปลายคาน 2.2 พื้น - ท้องพื้น 2.3 เสา 2.4 ผนัง 3. รอยร้าวเนื่องจากการทรุดตัวของฐานราก โดยทั่วไปลักษณะการทรุดตัวที่จะจำให้อาคารแตกร้าวมี 2 แบบ คือ - ฐานรากทรุดตัวไม่เท่ากัน - ฐานรากทรุดดึงตามกันจนทำให้อาคารเอียง ลำดับขั้นตอนในการแก้ไขอาคารทรุดควรมีลำดับขั้นตอนดังนี้
1. คำนวณน้ำหนักฐานราก 2. เลือกชนิดของเสาเข็ม 3. คำนวณกำลังรับน้ำหนักบรรทุกปลอดภัยของเสาเข็ม 4. กำหนดจำนวนเสาเข็มที่จะเสริมในแต่ละฐานราก 5. ตำแหน่งของเสาเข็ม ควรเป็นตำแหน่งที่ถ่ายเทน้ำหนักลงเสาเข็มที่เสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เสาเข็มที่ใช้เสริมฐานรากของอาคารควรมีคุณสมบัติดังนี้ - สามารถติดตั้งได้ในสภาพพื้นที่คับแคบ - ไม่มีแรงสั่นสะเทือนมากในขณะติดตั้ง - รับน้ำหนักได้ทันทีเมื่อติดตั้งแล้วเสร็จ - สามารถตรวจสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มได้ทุกต้น
|