www.thumhome.com ดีดบ้าน ยกบ้าน    
 

   เทคโนโลยีกับชาวบ้าน

ยกบ้าน ดีดบ้าน เคลื่อนย้ายบ้าน ไม่ใช่เรื่องยาก ปรึกษาช่างคิดช่างทำ  0872219188---- 0879049896

   

  เมื่อพูดถึงอินเตอร์เนตก็นับว่าเป็นเทคโนโลยี่ที่เปลี่ยนแปลงระบบการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นอย่างมาก ผู้คนนิยมใช้ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(electronic mail E-mail)แทนการใช้จดหมายทั่วไป นิยมรับข่าวสารบ้านเมืองผ่านเว็บไซต์มากขึ้นกว่าการอ่านหนังสือพิมพ์หรือฟังจากวิทยุ จากการใช้อินเตอเน็ตพบว่าเป็นการรับข้อมูลข่าวสารสองทางและเป็นช่องทางการสื่อสารที่ผู้รับสารสามารถแสดงความคิดเห็นกลับได้อย่างรวดเร็วจึงทำให้ข้อมูลข่าวสารตีแผ่ออกไปในหลายมุมมองของสังคมซึ่งทำให้ระบบอินเตอร์เน็ตช่วยให้สังคมมีการพัฒนาการหลายเรื่องรวมไปถึงพัฒนาการระบบการเมืองไปสู่ระบอบประชาธิปไตยมากขึ้นโดยรัฐจัดให้องค์กรของรัฐจัดทำเว็บไซต์และรับคำร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะจากประชาชนผ่านทางอินเตอร์เนตเป็นต้น การสื่อสารที่ผู้ส่งสารอยู่ห่างไกลจำเป็นต้องใช้เครื่องมือสำหรับนำพาสารไปยังผู้รับข่าวสารซึ่งเครื่องมือที่ใช้ก็มีการพัฒนาไปตามเทคโนโลยี การส่งสารด้วยเครื่องสื่อสารจะส่งไปในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่มีสองรูปแบบด้วยกันคือในรูปแบบสัญญาณอานาลอก(Analog)และสัญญาณดิจิตอล(Digital)          

   
   

   สัญญาณอานาลอก( Analog signal) มีลักษณะที่ต่อเนื่องที่เราสามารถรับรู้ได้ทางประสาทเช่นเสียงที่เราได้ยินที่ออกจากลำโพงวิทยุ หรือโทรทัศน์ ส่วนสัญญาณดิจิตอลนั้นเป็นสัญญาณที่มีเพียงสองสถานะคือ จริง หรือ เท็จ และรวมกันเข้าเป็นรหัสสำหรับติดต่อกันระหว่างเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์เช่นระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่อง หรือคอมพิวเตอร์ที่รับส่งข้อมูลในระบบอินเตอเน็ตก็ติดต่อกันในรูปสัญญาณดิจิตอล ส่วนเสียงที่เราได้ยินทางลำโพงคอมพิวเตอร์นั้นก็เกิดจากการแปลงรหัสจากสัญญาณดิจิตอลมาเป็นสัญญาณอานาลอกก่อนแล้วจึงแปลงมาเป็นสัญญาณเสียงด้วยลำโพง

   
     เครื่องมือสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์รุ่นเริ่มต้นของการสื่อสารทางไกลนั้นที่รับรู้กันโดยทั่วไปก็น่าจะเป็นวิทยุ(Radio) การส่งสารจากผู้ส่งสารของเครื่องวิทยุจะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นตัวพาเสียงของผู้พูดไปยังผู้ฟังโดยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่อยู่ในช่วงความถี่ที่เรียกว่าคลื่นวิทยุ(Radio wave) ในคลื่นวิทยุยังแบ่งประเภทของวิทยุเองออกเป็นตามช่วงความยาวคลื่นที่เรื่องรับวิทยุนั้นใช้งานอยู่ได้แก่ เครื่องรับคลื่นสั้น(short wave radio) เครื่องรับคลื่นกลาง(medium wave radio) เครื่องรับคลื่นยาว (Long wave radio) แต่การเรียกตามลักษณะความยาวคลื่นนั้นไม่เป็นที่รู้จักของผู้ฟังทั่วไป  และการแบ่งประเภทของเครื่องวิทยุตามวิธีการปรุงคลื่น( modulation)ระหว่างคลื่นเสียงกับคลื่นวิทยุโดยแบ่งเป็นเครื่องวิทยุเอเอม (Amplitude Modulation) และเครื่องวิทยุ เอฟเอม ( Frequency Modulation) ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายของผู้ฟังที่จะพบทั่วไปตามหน้าปัดเครื่องรับวิทยุจะแสดงตัวเลขความถี่ของสถานีที่มีให้เลือกว่าจะฟังสถานีส่งวิทยุระบบ เอเอม หรือ เอฟเอม โดยทั้งสองระบบนี้มีคุณลักษณะของการแพร่กระจายคลื่นที่แตกต่างกันหรือแม้กระทั้งการจัดรายการของนักจัดรายการก็ยังค่อนข้างจะแตกต่างกันอาจเป็นเพราะคุณภาพของเสียงที่ไปถึงผู้ฟังมีความแตกต่างกัน โดยวิทยุเอฟเอมจะมีความสมบูณร์ของคลื่นเสียงมากกว่าระบบเอเอมแต่วิทยุเอเอมจะส่งคลื่นไปถึงผู้ฟังที่อยู่ไกลกว่า ระบบการส่งคลื่นวิทยุ    
   

การสื่อสารดาวเทียม( Satellite Communication) ฟังแล้วอาจจะเป็นวิชาการไปหน่อยสำหรับชาวบ้านที่อยากจะรู้เพียงว่าเขารับชมรายการโทรทัศน์จากดาวเทียมได้อย่างไร แต่สำหรับระบบการสื่อสารดาวเทียมแล้วจะเกิดขึ้นได้จะต้องประกอบด้วยสถานีภาคพื้นดินอย่างน้อยสองสถานีและที่จะขาดไม่ได้ก็คือดาวเทียมที่ลอยค้างอยู่ในอวกาศหนึ่งดวงเพื่อทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณสื่อสารระหว่างสถานีภาคพื้นดิน สัญญาณความถี่ที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านดาวเทียมมีสองย่านความถี่คือ ในย่าน C-band 6/4 GHz โดยสัญญาณขาขึ้นจะมีคลื่นพาห์(Carrier) ในช่วง 5.725 ถึง 7.075 GHz และสัญญาณขาลงจะความถี่คลื่นพาห์ในช่วง 3.4 ถึง 4.8 GHz และย่านความถี่ Ku-band 14/12 GHz โดยความถี่ขาขึ้นจะอยู่ในช่วง 12.75 ถึง 14.8 GHz และความถี่ขาลงอยู่ในช่วง 10.7 ถึง 12.3 GHz

              สัญญาณคลื่นความถี่ที่ส่งจาสถานีภาคพื้นดินไปยังดาวเทียมเรียกว่าสัญญาณขาขึ้น(Up Link) ส่วนสัญญาณที่ดาวเทียมส่งลงมายังสถานีภาคพื้นดินเรียกว่าสัญญาณขาลง(Down Link) สถานีที่ทำการส่งสัญญาณขึ้นไปยังดาวเทียมก็คือสถานีส่งภาคพื้นดินที่รับจ้างส่งรายการวิทยุ โทรทัศน์เพื่อออกอากาศมายังผู้ชมที่อยู่ทางบ้าน ดังนั้นถ้าเราต้องการรับสัญญาณที่ส่งจากดาวเทียมต้องมีชุดเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่มีสองระบบคือ ระบบ C-band และ ระบบ Ku-band โดยจะมีข้อแตกต่างที่เห็นภายนอกคือมีขนาดของจาน(Dish) ต่างกันโดยระบบ C-band จานจะมีขนาดใหญ่และส่วนมากจะเป็นจานที่ประกอบจากตะแกรงโลหะ ส่วนย่าน Ku-band จานจะมีขนาดเล็กและเป็นโลหะทึบ

                   ชุดเครื่องรับดาวเทียมจะประกอบด้วยจานรับสัญญาณที่ทำหน้าที่สะท้อนสัญญาณไปรวมกันที่จุดโฟกัสของจานที่ได้ตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณความถี่ดาวเทียม(Block Down converter) แล้วแปลงให้สัญญาณมีความถี่ต่ำลง แล้วส่งไปตามสายสัญญาณไปยังเครื่องรับที่อยู่ภายในอาคาร จากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมที่จะแปลงสัญญาณและ หรือ ถอดรหัสให้เป็นสัญญาณ ภาพ และ เสียง ( Video Audio A/V) ที่นำไปต่อเข้ากับโทรทัศน์ในลักษณะเดียวกับที่ต่อสัญญาณจากเครื่องเล่นวีซีดี

   
         
            

This site was last updated 11/17/53